"ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทย เป็นทีมหมอครอบครัว"

ไวรัสเมอร์ส

ไวรัสเมอร์ส (MERS-CoV) ระบาด 

เชื้อโรคไม่มียารักษา



            

ไวรัส เมอร์ส
             มาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง



ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์ส
            ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546




ความร้ายแรงของไวรัสเมอร์ส
              ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต



การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์ส


1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
6. มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์



ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สอย่างต่อเนื่อง
     
  หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย


หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง



งค์ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012
(Middle East Respiratory Syndrome: MERS) โรคเมอรส์

กรมควบคุมโรค
1. ลักษณะโรค 
              โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ขณะนี้ พบว่า การระบาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และล่าสุด มีการระบาดที่เกาหลีใต้ ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจํากัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2557 พบจํานวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนําเชื้อมาสู่คนได้ ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สําหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้นและมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล
         ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV มักมีอาการไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมี หายใจหอบ และหายใจลําบาก ปอดบวมรายงานจํานวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36

2. สถานการณ์โรค
          ทั่วโลก ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จํานวน 1,190 ราย เสียชีวิต444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปี โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจาก 25 ประเทศ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์
อิหร่าน จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์ โอมาน และเยเมน
- กลุ่มประเทศยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี
และอังกฤษ
- กลุ่มประเทศแอฟริกา 2 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย และตูนีเซีย
- กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
- กลุ่มประเทศเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และจีนแผ่นดินใหญ่
โดยผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 85 ) เป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ทั้งนี้ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคเมอร์ส ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน โอมาน กาตาร์ จอร์แดน เยอรมัน จีน ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ และรายงานการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๘ องค์การอนามัยโลก ได้รายงานอย่างเป็นทางการ พบผู้ป่วยที่ประเทศเกาหลีใต้ จํานวน 36 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสเชื้อในประเทศเกาหลีใต้ และเดินทางผ่านฮ่องกงไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจากจํานวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล และการติดเชื้อในบ้าน และองค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่าพบการติดเชื้อของผู้ป่วยในรุ่นที่ 3 แล้ว ประเทศไทย ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยง จากผู้เดินทางไปมาระหว่างประเทศที่มีการระบาด ประกอบกับประชาชนชาวไทยเดินทางไปแสวงบุญใน ประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย

3. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS CoV)

4. อาการของโรค :
           ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทําให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ (intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลําบาก ปอดบวม ซึ่งในจํานวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจํานวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจําตัวซึ่งทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป

5. ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน

6. วิธีการแพร่โรค :
             ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2014 พบจํานวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนําเชื้อมาสู่คนได้ ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สําหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล

7. การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จําเพาะ

8. การป้องกัน :

สําหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
    จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ํา ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากท่านเดินทางเข้าในประเทศที่มีการระบาด และเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือสถานที่เก็บผลผลิตทางการเกษตร และหรือในพื้นที่ตลาดที่มีอูฐอยู่ และควรปฏิบัติตน ดังนี้
 - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
 - ผู้มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ
 - ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
 - หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์ โดยเฉพาะอูฐซึ่งอาจเป็น
แหล่งรังโรคของเชื้อได้
 - ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ (มีอาการรุนแรงที่ส่งกระทบต่อกิจวัตรประจําวันปกติ) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชําระปิดปาก และจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชําระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

สําหรับประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้าง
มือเป็นประจํา ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูก
สุขอนามัย

สําหรับสถานพยาบาล
            เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัวได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and cough etiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions สําหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplet transmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม airborne transmission มีความเป็นไปได้ ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 30 - 50) ดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ สหรัฐอเมริกา (US CDC) จึงแนะนําให้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมาก รวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ การพ่นยา เป็นต้น


หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 สํานักโรคติดต่ออุบัตใหม่โทร. 025903159 หรือ หาข้อมูล และคําแนะนําเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต http://beid.ddc.moph.go.th

....ยิ น ดี ต้ อ น รั บ ทุ ก ท่ า น ด้ ว ย ค ว า ม ยิ น ดี ยิ่ ง...